ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA) ร่วงลงมากกว่า 1,000 จุด หรือ 3% ต่ำกว่า 38,000 เป็นครั้งที่สี่ในเดือนเมษายน นักลงทุนเริ่มกังวลเกี่ยวกับความเป็นอิสระของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงโจมตีประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ เมื่อวันจันทร์
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยังคงใช้ถ้อยคำโจมตีต่อประธานเฟด เจอโรม พาวเวลล์ โดยเรียกเขาว่า "ผู้แพ้ที่สำคัญ" ที่มักมาช้าในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในขณะเดียวกัน พาวเวลล์ยังคงมีความมั่นคง โดยกล่าวว่าเฟดจะยังคงพึ่งพาข้อมูลและแม้กระทั่งชี้ให้เห็นถึงโอกาสของสถานการณ์สแตคฟลาชัน โดยยอมรับว่า "เราอาจพบว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่ท้าทายซึ่งเป้าหมายสองประการของเราขัดแย้งกัน"
นอกจากการขาดทุนของดาวโจนส์แล้ว S&P 500 และ Nasdaq ก็ลดลงเช่นกัน โดยลดลง 3.16% และ 3.44% ตามลำดับ บริษัทขนาดใหญ่ที่นำโดยบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดเจ็ดแห่งขยายการขาดทุน โดยมี Tesla (TSLA) และ Nvidia (NVDA) ร่วงลง 7% และ 6%
ความรู้สึกที่ไม่ดีนี้ยังส่งผลกระทบต่อเงินดอลลาร์ เนื่องจากความไม่ไว้วางใจของนักลงทุนต่อผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ซึ่งติดตามผลการดำเนินงานของดอลลาร์เทียบกับตะกร้าสกุลเงินหกสกุล ลดลงมากกว่า 1% สู่ 98.27 หลังจากแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ 97.92
นโยบายการค้าของทรัมป์ยังคงกดดันตลาดเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในอนาคต
ในขณะเดียวกัน ข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่านักเทรดกำลังคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด 96 จุดฐานในช่วงปลายปี 2025
ดาวโจนส์ขยายการขาดทุนเป็นเวลา 4 วันติดต่อกัน ยืนยันแนวโน้มขาลงเมื่อผู้ขายมุ่งเป้าไปที่ระดับต่ำสุดของปี (YTD) ที่ 36,614 ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน อย่างไรก็ตาม ผู้ขายจำเป็นต้องปิดต่ำกว่า 38,000 ในแต่ละวันเพื่อให้มีความหวังในการลาก DJIA ลง
ในทางกลับกัน ตลาดกระทิงจำเป็นต้องดันดาวโจนส์ให้สูงกว่า 38,000 เพื่อทดสอบแนวรับต่ำสุดประจำวันในวันที่ 10 เมษายน ซึ่งกลายเป็นแนวต้านที่ 38,431 ก่อนที่จะไปถึง 39,000
ดาวโจนส์ (DJIA) คือมาตรวัดคาเฉลี่ยของบริษัทในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในดัชนีตลาดหุ้นที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ดาวโจนส์รวบรวมจากหุ้นที่มีการซื้อขายมากที่สุด 30 อันดับในสหรัฐฯ และจะถ่วงน้ำหนักด้วยการเคลื่อนไหวของราคามากกว่าถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตามราคาตลาด คำนวณโดยการรวมราคาของหุ้นที่เป็นส่วนประกอบแล้วหารด้วยตัวคูณซึ่งปัจจุบันคือ 0.152 ดัชนีนี้ก่อตั้งโดย ชาร์ลส ดาว (Charles Dow) ผู้ก่อตั้ง วารสารวอลล์สตรีท (Wall Street Journal) ในช่วงหลายปีต่อมา มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าดาวโจนส์ไม่ได้เป็นตัวแทนของสินทรัพย์ในวงกว้างเพียงพอ เนื่องจากอ้างอิงการเคลื่อนของกลุ่มบริษัทเพียง 30 กลุ่มเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากดัชนีอ้างอิงข้อมูลจากบริษัทที่มีจำนวนมากกว่าอย่างเช่น S&P 500
ปัจจัยที่แตกต่างกันมากมายผลักดันการเคลื่อนไหวของค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA) ประสิทธิภาพโดยรวมของบริษัท, รายละเอียดที่เปิดเผยในรายงานผลประกอบการของบริษัทรายไตรมาสถือเป็นมาตรวัดประสิทธิภาพหลัก ข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกยังมีส่วนช่วยเช่นกัน เนื่องจากส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ระดับของอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดโดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังมีอิทธิพลต่อ DJIA เนื่องจากส่งผลต่อต้นทุนสินเชื่อ ซึ่งหลายๆ บริษัทต้องพึ่งพาอย่างมาก ดังนั้น อัตราเงินเฟ้ออาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญได้เช่นเดียวกับตัวชี้วัดอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)
ทฤษฎีดาวเป็นวิธีการในการระบุแนวโน้มหลักของตลาดหุ้นที่พัฒนาโดย ชาร์ลส ดาว (Charles Dow) ขั้นตอนสำคัญคือการเปรียบเทียบทิศทางของค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA) และ ค่าเฉลี่ยการขนส่งดาวโจนส์ (DJTA) และติดตามเฉพาะแนวโน้มที่ทั้งคู่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน ,uปริมาณเป็นเกณฑ์ยืนยัน ทฤษฎีนี้ใช้องค์ประกอบของการวิเคราะห์จุดสูงสุดและต่ำสุด ทฤษฎีของดาวโจนส์ (Dow) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะสะสม เมื่อนักลงทุนเริ่มซื้อขายปลกเปลี่ยน ระยะการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อประชาชนในวงกว้างเข้ามามีส่วนร่วมลงทุน และระยะกระจายตัวเมื่อเงินเงินของนักลงทุนออกจากตลาดไป
มีหลายวิธีในการลงทุนกับ DJIA หนึ่งคือการลงทุนผ่าน ETF ซึ่งอนุญาตให้นักลงทุนซื้อขาย DJIA เป็นหลักทรัพย์เดียว แทนที่จะต้องซื้อหุ้นในบริษัทที่เป็นส่วนประกอบทั้งหมด 30 แห่ง ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ กองทุน SPDR , ETF ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DIA) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าของ DJIA ช่วยให้นักลงทุนสามารถเก็งกำไรมูลค่าในอนาคตของดัชนีแลออปชัน แต่ไม่ใช่ข้อผูกมัดในการซื้อหรือขายดัชนีในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในอนาคต กองทุนรวมช่วยให้นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นในพอร์ตการลงทุนที่หลากหลายของหุ้น DJIA ซึ่งทำให้เกิดโอกาสการลงทุนในดัชนี